วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1 อินเตอร์เน็ตและการสื่อสาร


ใบความรู้

เรื่อง อินเตอร์เน็ตและการสื่อสาร

1. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล(Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล์ เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
2. ประเภทของระบบเครือข่าย
          ระบบเครือข่าย  ถ้าพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างทายกายภาพ แบ่งได้ ประเภท ดังนี้          
1. LAN (Local Area Network) เป็นการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออยู่ในพื้นที่เดียวกัน มาเชื่อมเข้าเป็นเครือข่าย          
2. MAN (Metro Area Network) เป็นเครือข่ายระดับเมือง เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือคนละเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมโยงกัน อาจมีการวางโครงสร้างที่ต่างกันได้          
3. WAN (Wide Area Network) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่เป็นเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
3.  ประโยชน์และโทษของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ต (Internetนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะเป็นเครือข่ายของโลกที่เชื่อมเอาเครื่องคอมพิวเตอร์จากต่างถิ่น ต่างเมือง ต่างประเทศเข้าด้วยกันเป็นโครงข่ายคล้ายดั่งใยแมงมุม (เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ wwwมีการติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายนี้เช่น การใช้อีเมล์ (e-mailติดต่อสื่อสารกันแทนการเขียน-อ่านจดหมายบนกระดาษ การถ่ายโอน/แลกเปลี่ยนข้อมูล (ftpไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน การสืบค้นหาข้อมูลผ่านSearch engine เช่น Google, Bing หรือการใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์หลากหลายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น Hi5, Facebook, Twitter, Blog เป็นต้น          นอกจากการใช้งานเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังมีการใช้เพื่อธุรกิจการค้า ขายสินค้าออนไลน์(e-Commerce) ผ่านทางเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องลงทุนด้านอาคารสถานที่ คลังสินค้าเพียงแต่มีระบบจัดจำหน่ายสินค้า ระบบรับชำระเงินออนไลน์ และการจัดส่งสินค้า (Logistics) ไปยังผู้ซื้อปลายทาง ซึ่งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก          เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์มากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ในอีกมุมหนึ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ก่อให้เกิดโทษขึ้นได้ หากผู้ใช้งานไม่ระมัดระวังหรือเชื่อมั่นมากเกินไปในการใช้สื่อและเทคโนโลยี เช่น
          1. โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) ถ้าผู้ใช้งานหมกมุ่นเกินไปในการใช้งาน ขาดไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ไม่ทำงานอย่างอื่น เสพติดการสนทนาออนไลน์ (Chat) การเล่นเกม(Game Online) ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปี ถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต
           รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
           มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
           ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
           รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
           ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
           หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
          2. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม (Pornography/Indecent Content) เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊ เปลือยต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภาพเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งปรากฏบนอินเทอร์เน็ตค้นหาได้ง่าย และสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้รวดเร็ว โดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิ ดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็ว จนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ รวมทั้งกฎหมายในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันทั้งเรื่องข้อห้ามและบทลงโทษ
          3. การโจมตีจากไวรัสและซอฟท์แวร์อันตราย (Virus, Worm, Spyware, Trojan, Malware)ในโลกของเครือข่ายนั้นค่อนข้างจะอันตรายจากการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไร้ขอบเขต จึงอาจมีการรับ-ส่งไฟล์ที่มีอันตรายต่อระบบปฏิบัติการ และงานสำคัญในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่มีจุดประสงค์แตกต่างกันไป ทั้งเพื่อปกป้องสิทธิแห่งซอฟท์แวร์ที่ตนเองผลิตขึ้น หรือเพื่อทำการโจรกรรมข้อมูลสำคัญของผู้อื่น ซอฟท์แวร์อันตราย
4.  การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์
          การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์นั้นมีลักษณะเด่นกว่าการนำเสนอด้วยเอกสารสิ่งพิมพ์ เพราะมีความสามารถในการจัดองค์ประกอบของการนำเสนอเรื่องราว หมวดหมู่ ได้อย่างเด่นชัด มีการจัดความเชื่อมโยง ใช้แถบนำทาง (Navigator) ให้ผู้ชมสามารถเข้าไปยังเนื้อหาที่สนใจได้ทันที การจัดทำเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจ ตรึงใจผู้ชม จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี มีผู้เข้าชมจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง
          เว็บไซต์เป็นเอกสาร HTML (Hyper Text Markup Language)ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางอนุภาคฟิ สิกส์ของยุโรป (CERN) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี ค.. 1989 ในครั้งแรก ทิมเพียงคิดอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดานักวิทยาศาสตร์ของสถาบันให้ค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น จึงได้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลได้ เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์” (Hyper Text)
          เว็บเพจ เว็บไซต์ และโฮมเพจ คำสามคำนี้จะมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่มักจะถูกนำมาใช้งานกันจนติดปากและเข้าใจว่าเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน 
          โฮมเพจ หมายถึง หน้าแรก ถ้าเปรียบกับหนังสือก็จะหมายถึงปกหน้าซึ่งเป็นส่วนแรกที่ผู้ชมจะพบเห็นก่อนเป็นลำดับแรก         เว็บเพจ หมายถึง หน้าเว็บทุกๆ หน้าซึ่งรวมหน้าแรกด้วย เปรียบเหมือนหนังสือหน้าต่างๆ นั่นเองซึ่งจะขยายส่วนเนื้อหาต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น          เว็บไซต์ หมายถึง กลุ่มของหน้าเว็บเพจที่รวมกัน และถูกอ้างถึงว่าตั้งอยู่ที่ใด เปรียบเหมือนที่วางหนังสือเล่มนั้นๆ ว่าอยู่ที่ชั้นใด หิ้งใด เราจะพบว่า การบอกตำแหน่งนั้นจะระบุเป็นชื่อ URL(Uniform Resource Locator)           บราวเซอร์ หมายถึง ซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่แปลผลคำสั่งจากไฟล์ HTML มาแสดงผลให้ถูกต้องทั้งตัวอักษร สี รูปภาพ เสียง หรือสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ

5.  หลักการออกแบบเว็บไซต์ (Web Design)
          เว็บไซต์เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างมากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะเว็บไซต์เป็นสื่อที่อยู่ในความควบคุมของผู้ใช้โดยสมบูรณ์ กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะดูหรือไม่ดูเว็บไซต์ใดก็ได้ตามที่ต้องการ จึงทำให้ผู้ใช้ไม่มีความอดทนต่ออุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการออกแบบเว็บไซต์ผิดพลาด ถ้าผู้ใช้เห็นว่าเว็บไซต์ที่กำลังรอดูอยู่นั้นไม่มีประโยชน์ต่อตัวเขาหรือไม่เข้าใจว่าเว็บไซต์นี้จะใช้งานอย่างไร หรือรอการแสดงผลยาวนานเกินไป เขาก็สามารถที่จะเปลี่ยนไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากในปัจจุบันมีเว็บไซต์มากมาย รวมทั้งมีเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ทุกชั่วโมง ผู้ใช้จึงมีทางเลือกและเปรียบเทียบคุณภาพของเว็บไซต์ต่างๆ ได้เองเว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม มีการใช้งานที่สะดวก ย่อมได้รับความสนใจจากผู้ใช้มากกว่าเว็บไซต์ที่ดูสับสนวุ่นวาย มีข้อมูลมากมายแต่หาอะไรไม่เจอ นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการแสดงผลแต่ละหน้านานเกินไป ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการออกแบบเว็บไซต์ไม่ดีทั้งสิ้นดังนั้น การออกแบบเว็บไซต์จึงเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ ให้ประทับใจต่อผู้ใช้ ทำให้อยากกลับเข้ามาเว็บไซต์เดิมอีกในวันข้างหน้า
6.  องค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์
          การออกแบบเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องคำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้          
         1. ความเรียบง่าย (Simplicity)หมายถึง การกำจัดองค์ประกอบเสริมให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลัก เลือกเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอจริงๆ ออกมา ในส่วนของภาพกราฟิก สีสัน ตัวอักษรและภาพเคลื่อนไหว ต้องเลือกให้พอเหมาะ ถ้าหากมีมากเกินไปจะรบกวนสายตาและสร้างความคำราญต่อผู้ใช้ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการออกแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานอย่างสะดวก       
         2. ความสมํ่าเสมอ (Consistency)หมายถึง การสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นตลอดทั้งเว็บไซต์ โดยอาจเลือกใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ก็ได้ เพราะถ้าหากว่าแต่ละหน้าในเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกันมากจนเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน และไม่แน่ใจว่ากำลังชมอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่เพราะฉะนั้นการออกแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าควรจะมีรูปแบบ สไตล์ของกราฟิก ระบบนำทาง(Navigation) และโทนสีที่มีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์
          3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity)ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรเป็นหลัก เนื่องจากเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กร การเลือกใช้ตัวอักษร ชุดสี รูปภาพหรือกราฟิก จะมีผลต่อรูปแบบของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก เช่น ถ้าเราต้องออกแบบเว็บไซต์ของธนาคาร แต่เรากลับเลือกสีสันและกราฟิกการ์ตูนมากมาย อาจทำให้ผู้ใช้คิดว่าเป็นเว็บไซต์ของสวนสนุกซึ่งส่งผลต่อความเชื่อถือขององค์กรได้          4. เนื้อหา (Useful Content)เนื้อหาถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเว็บไซต์ ต้องมีความสมบูรณ์และได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ เป็นเนื้อหาที่ทีมผู้พัฒนาสร้างสรรค์ เรียบเรียงขึ้นมาเอง และไม่ไปซ้ำกับเว็บอื่นเพราะจะถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามาเว็บไซต์ได้เสมอ แต่ถ้าเป็นการสร้างลิงค์ข้อมูลจากเว็บอื่นๆมา เมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้ทราบว่า ข้อมูลนั้นมาจากเว็บไซต์ใด ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องกลับมาใช้งานลิงค์เหล่านั้นอีก          
           5. ระบบเนวิเกชั่น (User-Friendly Navigation)เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อเว็บไซต์มาก เพราะจะช่วยไม่ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนระหว่างดูเว็บไซต์ ระบบเนวิเกชั่นจึงเปรียบเสมือนป้ายบอกทาง ดังนั้นการออกแบบเนวิเกชั่น จึงควรให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้สะดวก ถ้ามีการใช้กราฟิกก็ควรสื่อความหมาย ตำแหน่งของการวางแถบเนวิเกชั่นก็ควรวางให้สม่ำเสมอ เช่น อยู่ตำแหน่งบนสุดของทุกหน้า ซึ่งถ้าจะให้ดีควรเพิ่มแถบเนวิเกชั่นที่เป็นตัวอักษรไว้ส่วนล่างของหน้าด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ยกเลิกการแสดงผลภาพกราฟิกบนเว็บเบราเซอร์          
           6. คุณภาพของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในเว็บไซต์ (Visual Appeal)ลักษณะที่น่าสนใจของเว็บไซต์นั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลเป็นสำคัญ แต่โดยรวมแล้วก็สามารถสรุปได้ว่า เว็บไซต์ที่น่าสนใจนั้นส่วนประกอบต่างๆ ควรมีคุณภาพ เช่น กราฟิกควรสมบูรณ์ไม่มีรอยหรือขอบขั้นบันได้ให้เห็น ชนิดตัวอักษรอ่านง่ายสบายตา มีการเลือกใช้โทนสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม          
            7. ความสะดวกของการใช้ในสภาพต่างๆ (Compatibility)การใช้งานของเว็บไซต์นั้นไม่ควรมีขอบเขตจำกัด กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมอื่นใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากเว็บบราวเซอร์ ควรเป็นเว็บที่แสดงผลได้ดีในทุกระบบปฏิบัติการ และทุกบราวเซอร์สามารถแสดงผลได้ในทุกความละเอียดหน้าจอ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากและกลุ่มเป้ าหมายหลากหลายควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก          
            8. ความคงที่ในการออกแบบ (Design Stability)ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเว็บไซต์มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ต้องออกแบบวางแผนและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ        9. ความคงที่ของการทำงาน (Function Stability)ระบบการทำงานต่างๆ ในเว็บไซต์ควรมีความถูกต้องแน่นอน ซึ่งต้องได้รับการออกแบบสร้างสรรค์และตรวจสอบอยู่เสมอ

 7.  การออกแบบเว็บไซต์
          1.  กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ขั้นตอนแรกของการออกแบบเว็บไซต์ คือการกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ให้แน่ชัดเสียก่อน เพื่อจะได้ออกแบบการใช้งานได้ตรงกับเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้          
           2.กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายผู้ออกแบบเว็บไซต์จำเป็นต้องทราบกลุ่มผู้ใช้เป้ าหมายที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน
          3. สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากเว็บหลังจากที่ได้เป้ าหมายของเว็บไซต์และกลุ่มผู้ใช้เป้ าหมายแล้ว ลำดับต่อไปคือการออกแบบเว็บไซต์เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานให้ได้นานที่สุด ด้วยการสร้างสิ่งที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ใช้โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ผู้ใช้คาดหวังจากการเข้าชมเว็บไซต์หนึ่ง ได้แก่

    ·     ข้อมูลและการใช้งานที่เป็นประโยชน์           
    ·     ข่าวและข้อมูลที่น่าสนใจ        
    ·    การตอบสนองต่อผู้ใช้       
    ·     ความบันเทิง
        ·     ของฟรี
          4.  ข้อมูลหลักที่ควรมีอยู่ในเว็บไซต์เมื่อเราทราบถึงความต้องการที่ผู้ใช้ต้องการได้รับเมื่อเข้าชมเว็บไซต์หนึ่งๆ แล้ว เราก็ออกแบบเว็บไซต์ให้มีข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คาดหวังจะได้รับเมื่อเข้าไปชมเว็บไซต์
8.  การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure Design)

การออกแบบเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Websiteจะเหมือนกับการสร้างบ้านที่เราอาศัยอยู่จริง เราต้องทำตัวเป็นสถาปนิกออกแบบบ้าน


วิธีการจัดโครงสร้างเว็บไซต์สามารถทำได้หลายแบบ แต่แนวคิดหลักๆ ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบคือ          จัดตามกลุ่มเนื้อหา (Content-based Structure)          จัดตามกลุ่มผู้ชม (User-based Structure)

หลักการออกแบบเว็บไซต์(Web Site)
          1. กำหนดโครงสร้างของเว็บไชต์
          2. กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจ
          3. การออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้า
          4. การสร้างเว็บเพจแต่ละหน้า
          5. การลงทะเบียนขอพื้นที่เว็บไซต์          6. การอับโหลดเว็บไซต์
รูปแบบของโครงสร้างเว็บไซต์

          1.  แบบเรียงลำดับ (Sequence) เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีจำนวนเว็บเพจไม่มากนัก หรือเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข้อมูลแบบทีละขั้นตอน มักจะพบในกรณีการนำเสนอภาพในลักษณะPresentation หรือ Directory Search
2.  แบบระดับชั้น (Hierarchy) เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีจำนวนเว็บเพจมากขึ้น เป็นรูปแบบที่เราจะพบได้ทั่วไป เหมาะกับเว็บที่มีข้อมูลไม่มากนักและไม่ต้องการปรับเปลี่ยนบ่อยๆ


3.  แบบผสม (Combination) เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีความซับซ้อนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันเป็นการนำข้อดีของรูปแบบทั้ง 2 ข้างต้นมา



9. การออกแบบเว็บเพจ (Page Design)
ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ
แบ่งออกเป็น ส่วนหลักๆ คือ

          1. ส่วนหัวของหน้า (Page Header) เป็นส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของหน้า และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่ดึงดูดผู้ชมให้ติดตามเนื้อหาภายในเว็บไซต์  มักใส่ภาพกราฟฟิกเพื่อสร้างความประทับใจ   ส่วนใหญ่ประกอบด้วย


  • โลโก้ (Logo) เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ควรมี เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้เว็บน่าเชื่อถือ
  • ชื่อเว็บไซต์
  • เมนูหลักหรือลิงค์ (Navigation Bar) เป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาของเว็บไซต์

          2.ส่วนของเนื้อหา (Page Body)  เป็นส่วนที่อยู่ตอนกลางของหน้า ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์  ซึ่งประกอบด้วยข้อความตารางข้อมูล ภาพกราฟิก วีดีโอ และอื่นๆ    และอาจมีเมนูหลัก หรือเมนูเฉพาะกลุ่มวางอยู่ในส่วนนี้ด้วยสำหรับส่วนเนื้อหาควรแสดงใจความสำคัญที่เป็นหัวเรื่องไว้บนสุด ข้อมูลมีความกระชับ ใช้รูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย และจัด Layout ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบ


          3. ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้  มักวางระบบนำทางที่เป็นลิงค์ข้อความง่าย ๆ และอาจแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เช่น เจ้าของเว็บไซต์ข้อความแสดงลิขสิทธิ์วิธีการติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์คำแนะนำการใช้เว็บไซต์ เป็นต้น

10. ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) คืออะไร
      โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใครโดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
          ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น ประเภท 
          1.  โดเมน ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
           2.  โดเมน ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
          โดนเมนเนม ระดับ  จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน ประเภทของโดเมน 
          ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
                    * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
                   * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
                   * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
                   * .edu คือ สถาบันการศึกษา
                   * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
                   * .mil คือ องค์กรทางทหาร
 โดนเมนเนม ระดับ  
          จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ 
          ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ 
          1. Organization Domains เป็นโดเมนเนมระดับสูงสุดซึ่งแสดงถึงองค์การ หรือหน่วยงาน
  2. Geographical Domains เป็นโดเมนเนมระดับสูงสุดแบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์หรือ     แบ่งตามประเทศ
โดเมนเนมในประเทศไทย
          ในประเทศไทยใช้ .th เป็นโดเมนประจำประเทศ โดยมีโดเมนย่อย 5 โดเมนได้แก่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น