วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 4 การแทรกรูปภาพและมัลติมีเดีย

ใบความรู้
การแทรกรูปภาพและมัลติมีเดีย
1. การนำเสนอรูปภาพบนเว็บ
          การเขียนเว็บเพจในรุ่นแรกๆ นั้นจะใช้ตัวอักษรและข้อความเป็นหลักในการนำเสนอ แต่ในช่วงเวลาไม่นานได้มีการพัฒนาใส่ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ใส่เสียง ทำให้เว็บเพจมีความน่าสนใจและสื่อความหมายต่างๆ ได้ ประเภทของไฟล์รูปภาพที่นิยมมาใช้มีอยู่ 3 ประเภทคือ
          1. ไฟล์ประเภท GIF (Graphic Interchange Format)
          2. ไฟล์ประเภทJPEG หรือ JPG(Joint Photographics Expert Group)

          3. ไฟล์ประเภทPNG(Portable Network Graphic)
2. การเปลี่ยนพื้นหลังเว็บเพจให้เป็นรูปภาพ
                2. การเปลี่ยนพื้นหลังเว็บเพจให้เป็นรูปภาพ
          การเปลี่ยนพื้นหลังเว็บเพจให้เป็นรูปภาพ ใช้คำสั่งแอตทริบิวต์ background  โดยมีรูปแบบการใช้คำสั่งดังนี้
รูปแบบ <body   background=" ชื่อไฟล์รูปภาพ"  หรือ ชื่อ "path(ที่เก็บรูปภาพ)/ชื่อไฟล์"
หรือ
"image URL">

        การใส่รูปภาพ นั้น การระบุตำแหน่งที่เก็บรูปภาพ (folder) นี้ เป็นจุดสำคัญมาก ถ้าระบุที่เก็บ (path)ผิด รูปภาพจะไม่ปรากฎขึ้น
        
สังเกตที่ path จะใช้เครื่องหมาย สแลช (/ถ้าใส่เครื่องหมายผิดก็จะไม่แสดงภาพเช่นกัน เพราะอ้างอิงผิดนั่นเอง
        
ระบุชื่อรูปภาพ               ตัวอย่างการใช้งาน  <body   background=" images.jpg">
        ระบุ
pathที่เก็บรูปภาพ      ตัวอย่างการใช้งาน  <body   background="picture/images.jpg">
3. การแทรกรูปภาพในเอกสาร
        การใส่รูปภาพในเว็บเพจใช้แท็ก <img src> (Image Source) ในการควบคุม
        รูปแบบ  <img src=" ชื่อไฟล์รูปภาพ"  หรือ ชื่อ "path(ที่เก็บรูปภาพ)/ชื่อไฟล์"หรือ "image URL">
                 การใส่รูปภาพนั้นการระบุตำแหน่งที่เก็บรูปภาพ (folder) นี้ เป็นจุดสำคัญมาก ถ้าระบุที่เก็บ (path)ผิด รูปภาพจะไม่ปรากฎขึ้น จะแสดงผลเป็นกรอบรูปภาพเล็ก ๆ  แล้วมีเครื่องหมายกากบาท (x)หรือ ? กำกับ 
        
สังเกตที่ path จะใช้เครื่องหมาย สแลช (/)  ถ้าใส่เครื่องหมายผิดก็จะไม่แสดงภาพเช่นกัน เพราะอ้างอิงผิดนั่นเอง
ตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้
4. การจัดวางตำแหน่งรูปภาพ
        การกำหนดคุณลักษณะพิเศษเพื่อกำหนดตำแหน่งของรูปภาพ เราสามารถกำหนดตำแหน่งของรูปภาพด้วยคำสั่งแอตทริบิวต์
align โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
        ตำแหน่งของข้อความกับการแสดงผลของรูปภาพ
       
align="top"        เป็นการกำหนดข้อความให้อยู่ด้านบนของรูปภาพ        align="middle"   เป็นการกำหนดข้อความให้อยู่กึ่งกลางของรูปภาพ        align="bottom"   เป็นการกำหนดข้อความให้อยู่ด้านล่างของรูปภาพ        align="left"        เป็นการกำหนดข้อความให้อยู่ด้านซ้ายของรูปภาพ        align="right"      เป็นการกำหนดข้อความให้อยู่ด้านขวาของรูปภาพ
 
ตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้
5. การใส่ข้อความอธิบายรูปภาพ
        การกำหนดข้อความอธิบายรูป เป็นการกำหนดให้ในกรณีเมื่อนำเมาส์มาวางบนตำแหน่งรูปภาพ จะปรากฏข้อความแสดงออกมา ดังนั้นการใส่ข้อความอธิบายรูปภาพ สามารถทำได้โดยการใส่คำสั่งแอตทริบิวต์ alt ซึ่งมีรูปแบบการใช้คำสั่งดังนี้
        รูปแบบ   <img src=" path(ที่เก็บรูปภาพ)/ชื่อไฟล์"   alt ="ข้อความอธิบายรูปภาพ">
ตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้
6. การปรับขนาดรูปภาพ        การกำหนดลักษณะพิเศษเกี่ยวกับการปรับขนาดรูปภาพให้มีขนาดตามความต้องการในกรณีที่รูปภาพมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป สามารถกำหนดความกว้างและความสูงของรูปภาพได้ โดยกำหนดค่าเป็นพิกเซล(Pixel) หรือกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจอภาพ  คำสั่งการกำหนดขนาดของรูปภาพ
        -
width   เป็นการกำหนดความกว้างของรูปภาพ
        -
height เป็นการกำหนดความสูงของรูปภาพ
รูปแบบ
<img  src=" path(ที่เก็บรูปภาพ)/ชื่อไฟล์"   width="ความกว้าง"  height="ความสูง">
ตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้
7. การกำหนดระยะห่างระหว่างภาพกับข้อวาม สามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะ คือระยะห่างในแนวตั้ง และระยะห่างในแนวนอน
       
1. คำสั่ง vspace(Vertical Space) เป็นการเว้นช่องว่างระหว่างรูปภาพกับข้อความทางด้านแนวตั้ง เพื่อไม่ให้ข้อความที่อยู่ด้านบนและด้านล่างของรูปภาพนั้น อยู่ติดกับรูปภาพมากเกินไป สามารถทำได้โดยการใช้คำสั่งแอตทริบิวต์
vspace
        รูปแบบ <img src=" path(ที่เก็บรูปภาพ)/ชื่อไฟล์"   vspace="ระยะห่างของรูปภาพกับข้อความ">
        ตัวอย่างการใช้งาน <img src=" picture/images1.jpg "   vspace="50">
        2. คำสั่ง hspace(Horizontal  Space) เป็นการกำหนดระยะสำหรับเว้นช่องว่างระหว่างรูปภาพกับตัวอักษรทางด้านแนวนอน เพื่อไม่ให้ข้อความที่อยู่ด้านข้างของรูปภาพนั้นอยู่ติดกับรูปภาพมากเกินไป สามารถกำหนดลักษณะพิเศษด้วยคำสั่ง hspace
        รูปแบบ <img src=" path(ที่เก็บรูปภาพ)/ชื่อไฟล์"   vspace="ระยะห่างของรูปภาพกับข้อความ">
        ตัวอย่างการใช้งาน <img src=" picture/images1.jpg "   hspace ="50">
8. การใส่กรอบรูปภาพ   เพื่อความสวยงามหรือทำให้รูปภาพโดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยใช้คำสั่งแอตทริบิวต์ border
        รูปแบบ
<img src=" path(ที่เก็บรูปภาพ)/ชื่อไฟล์"   border="ขนาดของกรอบ">
        ตัวอย่างการใช้งาน
<img src=" picture/images1.jpg "   border ="5">
9. การเพิ่มมัลติมีเดียในเว็บเพจ   - การแทรกเสียงเป็นพื้นหลังเว็บ ประเภทของไฟล์เสียงที่สามารถนำมาประกอบเว็บเพจ รูปแบบของไฟล์เสียงมีดังนี้        - ไฟล์ชนิด .au (audio)
        - ไฟล์ชนิด .snd (sound)
        - ไฟล์ชนิด .wav (wave form-audio)
        - ไฟล์ชนิด .aif f(audio interchange file format)
        - ไฟล์ชนิด .mid  .midi (musical instrument digital interface)
        การกำหนดให้มีเสียงแสดงผลเมื่อเปิดเว็บเพจขึ้นมา สามารถทำได้โดยใช้คำสั่งแอตทริบิวต์ bgsound
        รูปแบบ 
        รูปแบบ
<bgsound src=" path(ที่เก็บเสียง)/ชื่อไฟล์"   loop="จำนวนครั้งที่เล่นซ้ำ">
                    การกำหนดคำสั่งแอตทริบิวต์ภายใน
<bgsound> แทรกเสียง ได้แก่
                             
src      คือ  กำหนดตำแหน่งและชื่อไฟล์ที่ทำการเล่น
                             
loop    คือ กำหนดจำนวนในการเล่น
                             
delay   คือ กำหนการหน่วงระยะเวลาการเล่น
        ตัวอย่างการใช้งาน
<bgsound  src=" sound/ยิ่งรู้จักยิ่งรักเธอ. mp3"   border ="2">
                   หรือ     <bgsound  src=" ยิ่งรู้จักยิ่งรักเธอ.mp3"    border ="2">
      - การเล่นเสียงหรือไฟล์มัลติมีเดียแบบควบคุมการแสดงผลได้  การเล่นเสียงบนเว็บบราวเซอร์ แบบสามารถควบคุมการเล่นได้สามารถทำได้โดยใช้แท็ก<embed>
             
รูปแบบ       <embed src= path(ที่เก็บเสียง)/ชื่อไฟล์">
             
การกำหนดคำสั่งแอตทริบิวต์ภายในแท็ก<embed> แทรกเสียงได้แก่
             
src                      คือ  กำหนดตำแหน่งและชื่อไฟล์ที่ทำการเล่น
              width        คือ  ความกว้างของไฟล์มัลติมีเดีย              height       คือ  ความสูงของไฟล์มัลติมีเดีย              autostart    คือ  เปิดมาเริ่มเล่นเลย หรือ ไม่ กำหนดค่า true/false
              loop          คือ  กำหนดจำนวนรอบในการเล่น

        ตัวอย่างการใช้งาน <embed  src=" sound/ยิ่งรู้จักยิ่งรักเธอ.mp3"  autostart ="ture">                     หรือ     <embed  src=" sound/ยิ่งรู้จักยิ่งรักเธอ.mp3"  autostart ="false">
        การแสดงไฟล์ประเภทมัลติมีเดีย ซึ่งประเภทมัลติมีเดียสามารถนำมาประกอบเว็บเพจ รูปแบบของไฟล์ดังนี้
          - ไฟล์ชนิด
.avi (Audio-Vidio Interleaved)
          - ไฟล์ชนิด .mpeg (Moving picture Expert Group)       
          - ไฟล์ชนิด
.wmv (Windows Media Vedio)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น